Ant-Man and the Wasp Pantip จักรวาลภาพยนตร์ของ Marvel Studios หรือ MCU (Marvel Cinematic Universe) ได้เดินทางมาถึงเฟสที่ 5 ในมหากาพย์มัลติเวิร์ส (Multiverse Saga) เป็นที่เรียบร้อยแล้วล่ะครับ ซึ่งอย่างที่ทราบกันดีว่า พอ MCU เข้าเฟส 4 หลังจบ ‘Avengers: Endgame’ (2019) ภาพรวมก็ออกมาดูหงอย ๆ ภาพรวมของธีมมัลติเวิร์ส ที่กะว่าจะเป็นจุดเด่นจุดขายก็แตะได้ในระดับผิว ๆ ไม่ได้มีเซอร์ไพรส์หรืออีเวนต์ใหญ่ ๆ แถมหนังและซีรีส์ในเฟส 4 เกือบทั้งหมดก็ดันเป็นหนัง Standalone ที่เน้นเปิดตัวฮีโรหน้าใหม่ (และภาคต่อฮีโรหน้าเก่า) เสียเป็นส่วนใหญ่ จนแทบจะนึกหาโมเมนต์ประทับใจ Hype ขั้นรุนแรงในเฟส 4 ไม่ค่อยออกจริง ๆ นะ
จนมาถึงในปีนี้ที่เดินทางเข้าสู่เฟสที่ 5 เรียบร้อยแล้ว และหนังตัวเปิดจักรวาลในเฟสนี้ก็คือหนังเดี่ยวภาคที่ 3 ของ สก็อต แลง (Scott Lang) หรือแอนท์แมน (Ant-Man) ซูเปอร์ฮีโรพลังมด หนึ่งในสมาชิกฮีโร Avengers ที่ยังคงหลงเหลืออยู่ ซึ่งในหนังเดี่ยว 2 ภาคแรกของเขาทั้ง ‘Ant-Man’ (2015) และ ‘Ant-Man and the Wasp’ (2018) นั้นก็มักจะเป็นหนังที่ยืนพื้นในการเป็นหนังรอมคอมแนวครอบครัว ผสมหนังจารกรรมที่มีกลิ่นอายเฮฮา ที่แม้ว่าอาจจะไม่ได้เปรี้ยงปร้างเฉิดฉายได้เท่ากับหนังเดี่ยวซูเปอร์ฮีโรเจ้าอื่น ๆ แต่ที่ผ่านมาทั้งในหนังเดี่ยว และการปรากฏตัวในหนังรวมฮีโรต่าง ๆ ก็พิสูจน์ว่าแอนท์-แมนเองก็เป็นซูเปอร์ฮีโรที่หลายคนรักและชื่นชอบไม่น้อย
โดยในภาคนี้ก็ยังคงได้ เพย์ตัน รีด (Peyton Reed) ผู้กำกับจาก 2 ภาคแรกกลับมากำกับเช่นเคย แต่ในฝั่งของผู้เขียนบทมีการเปลี่ยนมือ โดยได้ เจฟฟ์ เลิฟเนสส์ (Jeff Loveness) ผู้เขียนบทแอนิเมชันซีรีส์สายปั่น ‘Rick and Morty’ ที่โดนจองตัวให้เขียนบท ‘Avengers: The Kang Dynasty’ ในเฟส 6 แล้วเป็นที่เรียบร้อย พร้อมกับนักแสดงชุดเดิมกลับมาแบบครบ ๆ รวมทั้งนักแสดงใหม่ ๆ และนักแสดงเซอร์ไพรส์ที่ยังไม่รู้บทบาท นอกจากจะต้องไปดูในหนังกันเอาเอง
เรื่องราวของภาค ‘Quantumania’ นี้จะเล่าเรื่องของ สก็อต แลง/แอนท์-แมน (Paul Rudd) หลังจากที่เขาติดในมิติควอนตัม 5 ปี และหนีไปเป็น Avengers จนกลายเป็นคนดัง เขียนหนังสือขายดี ไปไหนใครก็รู้จัก แต่เป้าหมายสูงสุดของเขาก็คือ การได้ใช้เวลาอยู่กับลูกสาว แคสซี แลง (Kathryn Newton) สาวน้อยหัวเนิร์ดวัย 18 ปีที่ห้าวด่อง ๆ จนติดคุกมาแล้วหลายครั้ง ตอนนี้พวกเขากลายเป็นส่วนหนึ่งในครอบครัวของ 2 ตายาย ดร.แฮงก์ พิม (Michael Douglas), เจเน็ต แวน ดายน์ (Michelle Pfeiffer) และ โฮป แวน ดายน์/เดอะ วอสพ์ (Evangeline Lilly) ที่เปลี่ยนบริษัท Pym Tech ให้กลายเป็นมูลนิธิการกุศลที่นำเอาเทคโนโลยีอนุภาคพิมมาช่วยเหลือผู้คน
Ant-Man and the Wasp Pantip
Ant-Man and the Wasp Pantip วันหนึ่ง แคสซี ยัยถั่วต้ม ได้ประดิษฐ์อุปกรณ์วิทยุที่สามารถใช้ติดต่อสื่อสารกับมิติควอนตัม แต่อุปกรณ์เกิดผิดพลาด ทำให้พวกเขาทั้งหมดหลุดเข้าไปในมิติควอนตัมที่เต็มไปด้วยสิ่งมีชีวิตแปลก ๆ พวกเขาได้พบกับ แคงผู้พิชิต (Jonathan Majors) ที่บังคับให้ แอนท์-แมน ตามหาบางสิ่งบางอย่าง เพื่อแลกกับเวลาที่จะทำให้เขาได้อยู่กับลูกสาว พร้อมกับการเผยเรื่องราวของเจเน็ต ที่ยังคงเก็บงำความลับบางอย่างหลังติดในมิติควอนตัมมานานกว่า 30 ปีเอาไว้ การผลัดไม้ของผู้เขียนบทนั้นส่งผลต่อเนื้อเรื่องและโทนของหนังอย่างเห็นได้ชัด ๆ เลยครับ ส่วนหนึ่งก็น่าจะเป็นเพราะว่าเพื่อให้สอดคล้องกับธีมความเป็นมัลติเวิร์สด้วยแหละ โชคดีที่ในหนัง Ant-Man และบรรดาหนัง Avengers ทั้งหลายได้ปูเรื่องแนะนำ อนุภาคพิม (Pym Particles) และมิติควอนตัม (Quantum Realm) ให้รู้จักไว้มากพอสมควรแล้ว ผลก็คือ นอกจากในภาคนี้จะตำเนินเรื่องไปได้เลยอย่างรวดเร็ว กระชับ ไม่ต้องปูซ้ำให้เสียเวลาแล้ว ตัวหนังก็เหมือนกึ่ง ๆ บังคับให้เปลี่ยนธีมจากรสชาติหนังรอมคอมครอบครัวผสมจารกรรมที่เกิดขึ้นใน 2 ภาคแรก กลายเป็นหนังแอ็กชันผจญภัยที่มีความแฟนตาซีจัด ๆ กันไปเลย
ส่วนตัวผู้เขียนเองตื่นตากับมิติควอนตัมในเรื่องนะครับ เพราะมันแทบจะเป็นการเซตจักรวาลขึ้นมาเลย ไม่ได้แค่โผล่มาเป็นกิมมิกมัลติเวิร์สเฉย ๆ รวมทั้งงานซีจีที่ถือว่าสอบผ่านและทำออกมาได้แฟนตาซีสุดกู่ไปเลย ในหนังเราจะได้เห็นมิติที่ถูกแบ่งออกเป็นโซน ๆ ได้เห็นสิ่งมีชีวิตและถิ่นที่อยู่ที่แปลกตา ที่มีความเพี้ยนแปลกแต่ก็มีความตื่นตาน่าสนใจ นำพาไปสู่การดำเนินเรื่องของหนังที่มีทิศทางแปลกไปจากเดิม ทั้งการผจญภัยกับชนเผ่าและสัตว์แปลก ๆ การเผชิญหน้ากับผู้มีอิทธิพล และการรวมพลังกันเพื่อต่อสู้ปฏิวัติกับอำนาจชั่วร้าย ซึ่งพอดูไปสักพัก ก็จะมีบางฉากในหนังและเส้นเรื่องบางจุดที่ชวนให้นึกถึงหนังหลาย ๆ เรื่องแบบตะหงิด ๆ
เอาที่ใกล้ที่สุดก็อย่างเช่นบรรดาหนัง ‘Avengers’ ผสม ‘Guardians of the Galaxy’ ฉากอื่น ๆ ก็ชวนให้นึกถึงหนังบางเรื่องอย่างอดคิดไม่ได้จริง ๆ ทั้งพืชและสัตว์ที่แอบคล้าย ‘Avatar’ ความห้าวจนเกิดข้อผิดพลาดระดับมัลติเวิร์สของแคสซีก็ชวนให้นึกถึงเหตุการณ์ใน ‘Spider-Man : No Way Home’ (2021) ในขณะที่ฉากร่วมกันรบพุ่งทำสงคราม ฉากชนเผ่า ฉากเจรจากับสัตว์ในควอนตัม และบรรดาน้อน ๆ ที่ทั้งน่ารักและแปลกตานี่ก็ชวนให้นึกถึง ‘Star Wars’ ในเอพิโสดท้าย ๆ อย่าง ‘Star Wars: Episode VI – Return of the Jedi’ (1983) และ ‘Star Wars: Episode IX – The Rise of Skywalker’ (2019) รวมทั้งแคง จ้าวแห่งมิติควอนตัม และกองทัพในโลกเสมือนนี่ก็ชวนให้นึกถึง ‘Tron’ อยู่หน่อย ๆ
ในขณะที่ตัวหนังก็สามารถผสมมุกฮา ๆ โดยเฉพาะมุกแนวไดอะล็อก รวมทั้งจังหวะการเล่าเรื่องแบบปั่น ๆ กาว ๆ ความหนืดหนาดย้วยย้ายบางอย่าง ก็ยังชวนให้นึกถึงการ์ตูน ‘Rick and Morty’ นิด ๆ ซึ่งแน่นอนว่ากลิ่นอายความฮาเกรียน ๆ ในแบบ 2 ภาคแรกก็หายไปเยอะพอสมควร รวมทั้งการไม่มีสมาชิก 3 เกรียนของลูอิสตามมาด้วย แต่ก็ยังพอจะมีมุกบทสนทนาแซม ๆ แกล้ม ๆ ให้ได้ฮา พร้อมกับมุกจังหวะนรกผิดที่ผิดทาง ที่ถือว่าเป็นงานถนัดของแอนท์-แมนก็ยังคงมีอยู่ ซึ่งก็ถือว่าทำออกมาได้แบบดูเพลิน ๆ ได้ความฮานิดกาวหน่อย ผสมแฟนตาซีตื่นตาและความเล่นใหญ่เล่นโตมาแทน
ในแง่ตัวละครถือว่ากระจายกันได้อย่างลงตัวและมีเสน่ห์มากขึ้นจาก 2 ภาคแรกนะครับ โดยเฉพาะการแบ่งตัวละครออกเป็น 2 เส้นเรื่อง แต่สิ่งที่ต้องพูดถึงมากที่สุดก็คงหนีไม่พ้นวายร้ายอย่าง แคงผู้พิชิต (Kang the Conqueror) ที่รับบทโดย โจนาธาน เมเจอร์ส (Jonathan Majors) ที่อุตส่าห์บิลต์กันยกใหญ่ว่านี่จะเป็นตัวร้ายประจำ Saga ที่โหดยิ่งกว่าธานอส ถ้าเอาในแง่การแสดง ก็ต้องใช้คำว่า “มาร์เวลโชคดีที่มี โจนาธาน เมเจอร์ส” จริง ๆ เพราะเขาสามารถถ่ายทอดความเป็นแคงได้มีเสน่ห์ น่าเกรงขาม มีความเป็นเจ้าพ่อมาดเข้ม เจ้าเล่ห์ แต่เวลาโหดก็ใส่แบบเดือด ๆ เหมือนกัน และฉากต่อสู้นี่ก็เรียกได้ว่า พี่แคงแกเป็นมวย เพราะให้ความรู้สึกเหมือนกำลังดูหนัง ‘Creed’ อยู่เหมือนกันนะ (555)
แต่จะว่าก็ว่าเถอะ สำหรับผู้เขียนมองว่า ความน่ากลัวของแคงก็ถือว่ายังไม่เกินความคาดหมายนะครับ คือถ้าใครพอติดตามธีมมัลติเวิร์ส หรือดูซีรีส์ ‘Loki’ (2021) มาแล้ว ก็พอจะคาดเดาได้ว่าแคงนั้นอันตรายในระดับมัลติเวิร์สได้อย่างไร และก็ถือว่าเป็นตัวร้ายที่มีเหตุผลบางอย่างในแบบฉบับของ Marvel นั่นแหละ แต่วายร้ายอีกตัวที่ผู้เขียนอยากพูดถึงก็คือ โมด็อก (Corey Stoll) ซึ่งก็คือ แดเรน ครอส หรือ เยลโลว์แจ็กเก็ต (Yellowjacket) วายร้ายที่โดนบีบอัดไฟล์ .zip ไปแล้วในภาคแรก (5555+) ซึ่งเห็นโหด ๆ เพี้ยน ๆ แบบนั้น แต่ขโมยซีนเรียกฮาเรียกยิ้มได้หลายขยักอยู่นะ
แน่นอนว่าตัวหนังเองก็ยังมีจุดสังเกตอยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะการดำเนินเรื่องอย่างรวดเร็วตลอดเรื่อง ในอีกด้านหนึ่งมันก็ทำให้ตัวหนังมีความรวบรัดตัดตอนในบางจุดคล้าย ๆ ภาคแรก โดยเฉพาะบทสรุปเรื่องที่จริง ๆ ทำได้ค่อนข้างดีเลยนะครับ แต่ว่ามันก็แอบมีจังหวะรีบทำเวลาจบอยู่ดี และนั่นก็ส่งผลกระทบให้การย้ำดราม่าประเด็นครอบครัว (ที่มีตั้ง 2 ครอบครัวเลยนะคราวนี้) ยังขยี้ต่อได้ไม่ลึกนัก จนแอบขาดเสน่ห์ความเป็นหนังครอบครัวแบบ 2 ภาคแรกไปพอสมควร รวมทั้งการปูเรื่องที่ไปที่มาของแคง และความลับเกี่ยวกับมิติควอนตัมของเจเน็ต ในฐานะที่เป็นคนอยู่ในมิติควอนตัมมานาน 30 ปี ค่อนข้างอ่อนแรง เบาบาง และมีผลต่อเนื้อเรื่องน้อยไปสักหน่อย รวมทั้งตัวละครใหญ่ ๆ ที่ถูกวางไว้เป็นปริศนา แต่เอาเข้าจริงก็มาไวไปไวมาก ใช้ไม่คุ้มค่ากับบารมีดาราเสียอย่างนั้นแหละ
โดยรวม ๆ แล้ว ถ้ามองในฐานะหนังเปิดหัวเฟส ก็ต้องถือว่าเป็นแรงส่งไปสู่เฟส 5 ได้อย่างน่าสนใจและถือว่าไม่เลวนะครับ เป็นหนังที่ให้รสชาติที่แตกต่างจาก 2 ภาคแรกค่อนข้างจะสิ้นเชิง แน่นอนว่ามันก็ยังมีความหลุด ๆ บ้าง แต่ก็ยังเป็นหนังที่มีจังหวะที่ดี ดูง่าย ดูความแปลก ความคิดสร้างสรรค์ พาผู้ชมผจญภัยมิติควอนตัมได้ตื่นตาและเต็มอิ่มกว่าทุก ๆ ภาค เป็นหนัง Marvel แกล้มป๊อปคอร์นที่ดูได้แบบเพลิน ๆ และมีงานซีจีในระดับน่าพอใจ ที่สามารถแนะนำให้ดูระบบ IMAX ได้ รวมทั้งบรรดาสัตว์แปลกที่เด็ก ๆ น่าจะชอบ และที่สำคัญคือ โจนาธาน เมเจอร์ส ในบทแคงผู้พิชิต ที่จะทวีความโหดยิ่งขึ้นกว่านี้ได้อย่างแน่นอน เรียกว่าเป็นของดีประจำ Saga ไปแล้วแหละ อย่างน้อย ๆ ก็เป็นแรงส่งไปสู่เรื่องราวในเฟส 5 ที่น่าจะทวีความน่าสนใจขึ้น ถ้า Marvel ไม่ปล่อยหงอยเหมือนเฟส 4 ไปซะก่อนน่ะนะครับ
ปล. มีฉาก End-Credits 2 ตัวนะครับ รอดูได้เลย ตัวแรกนี่บอกได้แค่ว่า Avengers งานยากแน่นอน ส่วนตัวที่ 2 นี่ก็แนะนำให้รอดูนะครับ มีกรี๊ดแน่นอน แต่ทั้งหมดทั้งมวลที่ผู้เขียนอยากจะบอกก็คือ Marvel มีฉาก End-Credits ที่คุ้มค่าแก่การอั้นฉี่รอดูสักทีนะ ที่ผ่านมาเฟส 4 นี่มีแต่อะไรก็ไม่รู้…
จุดเด่น
- เดินเรื่องเร็วกระชับ ไม่เว้นจังหวะให้เสียเวลา
- โจนาธาน เมเจอร์ส รับบทแคงได้น่าสนใจ มีความหล่อแต่โหดผสมเจ้าเล่ห์ นี่คือเพชรประจำ Saga
- โมด็อกขโมยซีนกว่าที่คิด
- ตัวเรื่องดูได้เพลิน ๆ เหมาะกับครอบครัว ไร้พิษภัย มีจุดเนือย ๆ รวบ ๆ บ้างแต่ไม่เยอะ
- เป็นแรงส่งสู่เฟส 5 ที่น่าสนใจและถือว่าไม่เลว ถ้าเทียบกับเฟส 4 ที่ออกทรงหงอย ๆ คุ้มดีคุ้มร้าย
จุดสังเกต
- ใช้นักแสดงที่วางให้เป็นตัวละครปริศนาน้อยไปหน่อย ไม่ค่อยคุ้ม Ant-Man and the Wasp Pantip
- การดำเนินเรื่องเร็ว แต่ก็มีความรวบรัดตัดความอยู่ โดยเฉพาะบทสรุปเรื่องที่มีความรีบจบอยู่ ทำให้การย้ำพล็อตดราม่าครอบครัว การปูเรื่องที่มาที่ไปของแคง และความลับเกี่ยวกับมิติควอนตัมของเจเน็ต ค่อนข้างเบาบางไปสักนิด และมีส่วนพลิกผันที่มีผลโดยตรงต่อเนื้อเรื่องน้อยไปหน่อย
- แคงมีความโหด และโหดมากกว่าธานอสจริง ๆ แต่ก็ยังถือว่าไม่เกินความคาดหมายมากนัก ใครที่ตามธีมเนื้อเรื่องมัลติเวิร์สมาแล้วก็น่าจะเดาทรงออก