Eternals Netflix ฮีโรพลังเทพเจ้า เมื่อมาร์เวลทำหนังฮีโรอาร์ต ๆ

Share on facebook
Share on twitter
Share on linkedin

Eternals Netflix ท่ามกลางกระแสก่นด่าจากนักวิจารณ์เมืองนอกและคะแนนในเว็บไซต์รีวิวหนังชื่อดังที่กำลังตกไปในแดนลบ ‘Eternals’ ภาพยนตร์ฉายโรงลำดับที่ 26 ของจักรวาลภาพยนตร์มาร์เวลหรือ MCU (Marvel Cinematic Universe) ได้เข้าฉายในประเทศไทยวันนี้เป็นวันแรกกับเดือนที่ 2 ที่โรงหนังกลับมาเปิดให้บริการ (เกือบ) ตามปกติ ผมได้พิสูจน์ตัวหนังมาแล้ว และนี่จะเป็นการรีวิวอย่างตรงไปตรงมาเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจของทุกท่าน

ตัวอย่าง Eternals Netflix

Eternals Netflix ‘Eternals’ เปิดเรื่องมาด้วยภารกิจอันน่าตื่นตาและทำให้เราได้รู้ว่าเหล่านักรบนาม อีเทอร์นอลส์ ถูกส่งมายังโลกมนุษย์โดยอริเชมสิ่งมีชีวิตที่เสมือนเป็นพระเจ้าผู้สร้างชีวิต โดยหน้าที่หลักของอีเทอร์นอลส์คือการช่วยเหลือมนุษย์ให้เกิดวิวัฒนาการและปกป้องพวกเขาจากเหล่าดีเวียนต์ สัตว์ประหลาดสุดเกรี้ยวกราดที่มุ่งทำลายมนุษย์และสรรพสิ่งเป็นสำคัญ

หลังอีเทอร์นอลส์ปฏิบัติภารกิจมานับพันปีก็ได้เวลาแยกย้ายเดินทางไปใช้ชีวิตตามวิถีของแต่ละคนโดยหนังเลือกให้เราไปโฟกัสที่ เซอร์ซี (เจมมา ชาน Gemma Chan) อีเทอร์นอลส์ที่สามารถเปลี่ยนแปลงสสารของสรรพสิ่งได้ ซึ่งปัจจุบันเธอกลายเป็นเจ้าหน้าที่ในพิพิธภัณฑ์ในลอนดอนและเริ่มคบหากับ เดน ไวต์แมน (คิต แฮริงตัน Kit Harington) เพื่อนร่วมงานของเธอแต่แล้วเมื่อเหล่าดีเวียนต์ปรากฎตัวเป็นครั้งแรกในรอบพันปี

เซอร์ซี สไปร์ต (ไลอา แม็กฮิวจ์ Lia McHugh) ผู้มีพลังในล่องหนและใช้มีดเป็นอาวุธ และอีคาริส (ริชาร์ด แมดเดน Richard Madden) ผู้สามารถทะยานฟ้าและยิงลำแสงพิฆาตจากตาได้ต้องรวมพลกับเหล่าอีเทอร์นอลส์อีกครั้งเพื่อต่อกรกับภัยร้ายระลอกใหม่ที่มีโลกทั้งใบเป็นเดิมพัน

จะว่าไปแล้วจุดเด่นที่สุดของอีเทอร์นอลส์นอกจากการเป็นซูเปอร์ฮีโรกลุ่มแรกที่มีสถานะเทพต่อจากธอร์แล้ว อีกจุดที่ต้องพูดถึงคือการพยายามเชื่อมโยงความเป็นฮีโรเข้ากับประวัติศาสตร์และความเป็นมนุษย์จนกล่าวได้ว่าเมื่อหนังดำเนินเรื่องไปสิ่งที่สำคัญกว่าภารกิจที่ต้องกำจัดดีเวียนต์คือการตั้งคำถามต่อตัวเองว่าแท้จริงแล้วมนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่ควรรักษาไว้หรือไม่

คำพูดหนึ่งของ เอแจ็ก ตัวละครที่รับบทโดยซัลมา ฮาเยค (Salma Hayek) ที่ยกเหตุการณ์ว่าธานอสดีดนิ้วแล้วเอาประชากรครึ่งจักรวาลหายไปกับตา แต่มนุษย์คนหนึ่งยอมสละชีพ (กล่าวถึงไอรอนแมนในหนัง ‘Avengers Endgame’) ดีดนิ้วเพื่อนำคนกลับมา เธอเลยมองเห็นคุณค่าของมนุษย์และต้องการปกป้องมนุษย์จากแผนการของผู้บังคับบัญชาของเธอแม้จะขัดกับเจตนารมย์ที่เหล่าอีเทอร์นอลส์ถูกส่งมายังโลกก็ตาม

ซึ่งมันทำให้บทหนังที่โคลอี้ เจา (Chloé Zhao) ผู้กำกับของหนังร่วมเขียนดูจะให้ความสำคัญกับการศึกษาตัวละครมากกว่าภารกิจเหมือนหนัง MCU เรื่องอื่นและแม้เธอจะต้องใช้กลไกอันซ้ำซากในการบอกเล่าที่มาที่ไปของตัวละครด้วยฉากแฟลชแบ็กจนทำให้น้ำหนักระหว่างภารกิจที่ต้องต่อกรกับดีเวียนต์ดูเป๋ไปบ้าง ทว่าในทางกลับกันมันกลับทำให้เห็นว่าแม้อีเทอร์นอลส์จะถูกกำหนดให้มีสถานะไม่ต่างจากเทพที่คนเคารพบูชาทว่าความเป็นมนุษย์ล้วน ๆ เลยที่ขับเคลื่อนหนังให้มีมิติของดราม่าที่น่าสนใจ

โดยเฉพาะประเด็นความไม่สมบูรณ์แบบที่เหล่าอีเทอร์นอลส์แต่ละคนต้องมาแก้ปมของตัวเอง โดยเฉพาะกรณีรักสามเส้าของเซอร์ซีกับสไปร์ตที่มีอิคาริสเป็นศูนย์กลาง ที่ฝ่ายแรกรอคนรักที่ถึงกับแต่งงานกันเป็นทางการกลับมาครองคู่นับพันปี ในขณะที่ฝ่ายหลังถูกสร้างให้ร่างกายเป็นเด็กจนฝ่ายชายไม่เคยมองเธอในฐานะสตรี และถึงแม้ว่าประเด็นนี้จะถูกผุดขึ้นมาแบบไม่มีที่มาที่ไปคล้ายกับพลอตรองเจ้าปัญหาอีกล้านแปด

ซึ่งส่งผลให้หนังดูมีพล็อตรองอันอีรุงตุงนัง อย่างเช่นประเด็นอาการทางจิตของ ธีนา (รับบทโดย แองเจลินา โจลี Angelina Jolie) เทพีสงครามที่ต้องได้รับการดูแลจากกิลกาเมช (รับบทโดย มาดงซ็อก) อีเทอร์นอลส์จอมพลัง หรือเรื่องการหมดศรัทธามนุษย์และการเริ่มความสัมพันธ์ในสถานะ LGBTQ+ ของ ฟาสโตส (รับบทโดยไบรอัน ไทรี เฮนรี Brian Tyree Henry) อีเทอร์นอลส์นักประดิษฐ์ ที่อาจทำให้คนดูหลายคนหงุดหงิดและรู้สึกว่าหนังแวะริมทางบ่อยเหลือเกิน

แต่เหล่านี้ล้วนแสดงเจตนาชัดเจนว่าหนังภายใต้การกำกับของเจา หาใช่หนังมาร์เวลที่เหล่าฮีโรจะมาปล่อยลำแสงเฮ้ากวงเหมือนที่ผ่าน ๆ มาไม่ แต่มันคือการพาผู้ชมไปรู้จักกับแง่มุมความเป็นมนุษย์ของแต่ละคนซึ่งไม่ได้มีด้านที่เพอร์เฟกต์และไม่ได้มีแค่การผดุงไว้ซึ่งความดีงามอันฉาบฉวยแต่หมายถึงการใช้หลักมานุษยวิทยามาค่อย ๆ อธิบายเหตุผลจนเราได้เห็นพวกเขาต้องสู้ศึกตั้งแต่ศัตรูภายนอกอย่างเหล่าดีเวียนต์จนถึงการสู้รบปรบมือกับจิตวิญญาณตัวเอง

ดังนั้นการแลกเวลาร่วม 1 ใน 3 ของหนังไปกับฉากแฟลชแบ็กที่มีเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่หลายคนอาจมองว่าน่าเบื่อและแทบจะไม่แตะประเด็นหลักของเรื่องไปมากกว่าการต่อกรกับดีเวียนต์ครั้งที่ผ่าน ๆ มา แท้ที่จริงแล้วหนังเหมือนพยายามเขียนปูมประวัติศาสตร์ของตัวเองในฐานะปฐมกาลของเหล่าฮีโร ซึ่งแน่นอนว่ามันเต็มไปด้วยรายละเอียดหลายอย่างและเปี่ยมด้วยอารมณ์ความอ่อนไหวของเหล่าอีเทอร์นอลส์จนกล่าวได้ว่านี่คงเป็นหนังมาร์เวลที่เข้าขั้นสโลว์เบิร์น (Slow Burn) ประหนึ่งหนังอาร์ตเฮาส์ที่สุดก็ไม่ผิดนัก

และเมื่อพิจารณาว่าในบรรดาเทพทั้งหมดทำไม มาดงซ็อก ต้องมารับบทกิลกาเมซที่ชื่อไม่ได้เป็นเอเซียเลย ทำไมต้องมีตัวละครเป็นคนใบ้อย่าง มัคคารี (รับบทโดยลอเรน ริดลอฟฟ์ Lauren Ridloff) หรือมีบทของคนอินเดียอย่าง คูมาลิ นานจานี (Kumail Nanjiani)และฮาริช พาเทล (Harish Patel) ในบทคิงโกและผู้จัดการดาราก็ยิ่งชัดเจนเลยว่าเจาต้องการให้เรามองความเป็นมนุษย์ในโลกภาพยนตร์ที่มีมากกว่าฝรั่งหน้าตาดีอันเป็นธรรมเนียมของฮอลลีวูดและมันยังตอบโจทย์กับการนำเสนอความเป็นมนุษย์นิยมอย่างที่หนังต้องการได้อีกด้วย

กระนั้นนอกจากบทที่พูดถึงมนุษย์ได้อย่างถึงแก่นและนำเสนอวัฒนธรรมอันหลากหลายแล้วหนังยังไม่ลืมจุดขายสำคัญของหนังมาร์เวลทั้งฉากแอ็กชันและงานวิชวลสุดตื่นตา พร้อมการปรากฎตัวของฮีโรรายใหม่ในฉากท้ายเอนด์เครดิตที่ดูจะเป็นธรรมเนียมมาตั้งแต่ ‘Black Widow’ หนังเปิดเฟส 4 ของมาร์เวลที่ดูจะไม่ได้แยแสเหล่าฮีโรดังจากเฟสที่ผ่านมามากนักจนดูเหมือนว่ามาร์เวลเองก็ดูจะมั่นอกมั่นใจในคุณภาพหนังและศักยภาพของเหล่าซูเปอร์ฮีโรรายใหม่มากเหลือเกิน

ที่สุดแล้วไม่ว่าคะแนนของ ‘Eternals’ จะได้ครองตำแหน่งหนังมาร์เวลที่คำวิจารณ์เลวร้ายที่สุดหรือไม่ ส่วนตัวมองว่าคำวิจารณ์หนังก่อนหน้านี้ในต่างประเทศก็ดูจะใจร้ายกับหนังมากไปหน่อย แต่ยังไงคุณภาพหนังจะดีไม่ดีคำตอบก็คงต้องอาศัยประสบการณ์ตรงในโรงภาพยนตร์อยู่ดีถูกไหมครับ ?

จุดเด่น

  • นำเสนอแง่มุมความเป็นมนุษย์ในหนังซูเปอร์ฮีโร่ได้อย่างล้ำลึก
  • งานวิชวลเอฟเฟกต์ตื่นตาตื่นใจ
  • นำเสนอวัฒนธรรมอันหลากหลายผ่านหนังซูเปอร์ฮีโรได้ดี

จุดสังเกต

  • หนังสร้างพลอตรองหรือเนื้อเรื่องของแต่ละตัวละครมากไปหน่อย
  • อาศัยฉากแฟลชแบ็กจนกลางเรื่องแทบไม่คืบหน้าไปไหน
  • ยังประสานอารมณ์ขัน อารมณ์ความสนุกสไตล์แฟนบอยของหนังมาร์เวลเข้ากับเนื้อหาเชิงมานุษยวิทยาได้ไม่กลมกล่อมเท่าที่ควร Eternals Netflix

บทความที่น่าสนใจ